หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเทพวิทยาคม นามเดิม คูณ ฉัตร์พลกรัง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ), นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ และนางทองหล่อ เพ็ญจันทร์ (แต่บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง 3 คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว)

มารดาได้เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนาง และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย
ในด้านการศึกษา ในวัย 6-7 ขวบ หลวงพ่อคูณได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม โดยพระอาจารย์ทั้ง 3 ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย ทำให้หลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย
ชีวิตช่วงอุปสมบท หลวงพ่อคูณได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ปีวอก หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยหลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ เมื่อหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป
หลวงพ่อคูณ ก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึก ซึ่งหลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศกัมพูชาสู่ประเทศไทย หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางกลับสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตแดนทางจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ นครราชสีมา จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ. 2496 นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย

หลวงพ่อคูณ ได้สมณศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาส ที่ พระอธิการคูณ ปริสุทฺโธ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 : เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระญาณวิทยาคมเถร,วิ.[2] 10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 : เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระราชวิทยาคม,วิ. อุดมกิจจานุกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3] 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 : เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระเทพวิทยาคม,วิ. อุดมธรรมสุนทร ปสาทกรวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
ปัจจุบันลูกศิทย์และทางวัดบ้านไร่ ได้สร้าง พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งศรัทธาและบารมีทานอันยิ่งใหญ่ของหลวง พ่อคูณ ปริสุทฺโธ เจ้าอาวาส วัดบ้านไร่และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชนทั่วทุก อ่านต่อได้ที่ : พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
ที่มาข้อมูล:
https://th.wikipedia.org/wiki/พระเทพวิทยาคม(คูณปริสุทฺโธ)
https://www.ict.up.ac.th/skchatri/KejiarjanDBUP/page/show_data.php?id=1